top of page

The Growth Journal

Writer's pictureMC

Create a Culture of Generosity and Communication in Your Family Business

การสื่อสารที่ดีในธุรกิจครอบครัว เริ่มต้นได้อย่างไร?


ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีธุรกิจมากมายเกิดขึ้นในโลกของเรา และมีธุรกิจมากมายที่เกิดขึ้นจากความชอบ หรือ ความต้องการของครอบครัว ซึ่งการบริหารในยุคเริ่มแรก หรือ การสืบทอดธุรกิจ ก็มักจะเป็นการบริหารภายในครอบครัว เมื่อครอบครัวที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะต้องมาทำธุรกิจร่วมกัน จะราบรื่นตลอดรอดฝั่งได้อย่างไร?


คำว่า “ธุรกิจครอบครัว” เป็นคำที่ค่อนข้างแตกต่างในความหมายของคำสองคำ “ธุรกิจ” มีความหมายเพื่อการเงิน ผลกำไร ผลกระทบ และ ทรัพย์สิน ขณะที่ “ครอบครัว” เป็นคำที่ให้ความรู้สึกของความอบอุ่น ความรัก ความสนุกสนา และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อทั้งสองคำมาอยู่รวมกัน บ่อยครั้งที่เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจถูกนำมาใช้เป็นกฎภายในครอบครัว ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว เพราะบ่อยครั้งที่ครอบครัวต้องแตกหักจากเหตุผลทางธุรกิจ ความขัดแย้ง และผลประโยชน์ที่ไม่ลงรอยกัน


สำหรับใครที่กำลังคิดอยากเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ หรือ กำลังเผชิญปัญหาจากการทำธุรกิจครอบครัวอยู่ หรือ จะเป็นองค์กรที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ก็สามารถแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้ได้เช่นเดียวกัน จะดำเนินธุรกิจครอบครัวได้อย่างราบรื่น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างวัฒนธรรมของความใส่ใจ และ การสื่อสาร ที่จะสามารถรักษาทั้งครอบครัว และ ธุรกิจไว้ได้ จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันค่ะ


เริ่มต้นจากการสร้างความใส่ใจในสิ่งต่อไปนี้ :

  • เวลา

  • อารมณ์

  • พลังงาน

  • พื้นที่ส่วนตัว

  • ความเข้าใจ

  • การเงิน

เรื่องเงินทองมักถูกหยิบยกมาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ครอบครัวแตกแยก เพราะ เป็นอะไรที่เห็นได้ชัดและวัดผลได้ แต่ในอีกด้านของความใส่ใจที่คนอาจมองข้าม คือ การเป็นที่พึ่งพิงเมื่อคนอื่นต้องการ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน


เมื่อคนยอมรับความมีน้ำใจ ยอมรับความเอาใจใส่ที่แต่ละคนให้กันและกัน จะเกิดบรรยากาศที่ดีภายในครอบครัว เช่น เวลาที่ใครสักคนต้องยกเลิกการท่องเที่ยว เนื่องจากสมาชิกอีกคนป่วยกะทันหัน จะต้องมีคนที่มาดูแลธุรกิจแทน ซึ่งการยกเลิกครั้งนี้เป็นการสูญเสียเงินบางส่วนที่ได้จ่ายไปแล้ว แต่เขาก็ทำเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินได้อยู่ หากสมาชิกที่ป่วยยอมรับการเสียสละ และเห็นคุณค่าของการทำหน้าที่แทนในครั้งนี้ ไม่ได้มองข้ามไปว่าเป็นหน้าที่ของอีกคนเช่นกัน เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากตอบแทน และขอบคุณ หากทุกคนมีความคิดเช่นนี้ ก็จะเกิดเป็นวัฏจักรของพลังบวก


อีกผลกระทบของการยอมรับความเกื้อกูลก็คือ การที่สมาชิกจะมีอีโก้ลดลง แน่นอนว่าคนในครอบครัวย่อมมีความสนิท และ รู้ตื้นลึกหนาบางของกันและกันดีกว่าคนนอก บางครั้งจึงอาจเกิดความถือตัวบางอย่าง ซึ่งถ้าคนในครอบครัวมีทัศนคติของการยอมรับความเกื้อกูล ก็จะทำให้มีการยอมรับในมุมมองของคนอื่นๆ ได้มากขึ้น แม้ว่าบางครั้งจะมีความเห็นไม่ตรงกัน แต่ความคิดเช่นนี้จะถูกสื่อสาร โดยที่ทุกคนแบ่งปันความคิดเห็นของตนเองได้ ความเข้าใจก็จะเกิดขึ้น รวมถึงไอเดียต่างๆ ก็เช่นกัน


การสร้างบรรยากาศเช่นนี้ได้ต้องอาศัยเวลา แต่สามารถเริ่มต้นได้จากทุกคน ขอแค่เชื่อมั่น และการให้ จะก่อให้เกิดการให้ต่อไป จนกลายเป็นเรื่องปกติในที่สุด


นอกจากความเอาใจใส่ การเกื้อกูลกันแล้ว การสร้างวัฒนธรรมของการสื่อสารก็มีผลมากเช่นกัน ซึ่งจะสร้างการสื่อสารได้ ทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม วัฒนธรรมการเกื้อกูลมีส่วนที่ทำให้ทุกคนกล้าที่จะแบ่งปันความคิด ความฝัน แก่คนอื่นๆ ซึ่งการสื่อสารจะเป็นสิ่งต่อไปที่จะทำให้ความคิดใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจะถูกระดมความคิด และนำไปสู่การตั้งเป้าหมายของครอบครัวต่อไป


จะสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารต้องเริ่มต้นอย่างไร :

  • รับฟังอย่างตั้งใจ

  • พูดในสิ่งที่คิด

  • หลีกเลี่ยงการตัดสินคนอื่น

เป็นเรื่องสำคัญมากในการกล้าที่จะเปิดรับบทสนทนาได้ทุกประเภท หากธุรกิจครอบครัวจะอยู่ไปได้ในระยะยาว สมาชิกในครอบครัวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสามารถพูดคุยในเรื่องที่บางครั้งยากต้องการสนทนาได้ ลองจินตนาการดูว่า หากสมาชิกในรุ่นถัดไปเชื่อว่าเขามีความสามารถและสามารถช่วยเหลืองานครอบครัวได้ แต่ยังขาดทักษะอยู่ หากคนที่กำลังดำเนินธุรกิจเกิดต้องการความหลากหลาย แต่ครอบครัวไม่เห็นด้วย การพูดคุยถกเถียงจะไม่ทำให้เกิดการแตกแยกหรือทะเลาะกันได้อย่างไร?


ดังนั้น การที่เปิดกว้างยอมรับทุกการแสดงความคิดเห็น ทุกคนสามารถสื่อสารได้ โดยที่ปัญหาหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ถูกนำมาพูดคุยโดยที่ทุกคนรับฟัง และหลีกเลี่ยงที่จะรีบตัดสินว่าใครดีใครไม่ดี หาเหตุผล อธิบายด้วยข้อเท็จจริง เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างสามารถมีทางออกที่ดีได้แน่นอน และจะลดการปะทะกันของคนในครอบครัวได้อย่างแน่นอน


วัฒนธรรมทั้งสองรูปแบบนี้ สามารถฝึกได้อย่างอิสระ หากคุณสามารถสร้างทั้งสองอย่างนี้ได้ จะเป็นสิ่งการันตีได้อย่างหนึ่งว่าเมื่อเกิดวิกฤตที่ไม่คาดคิด และไม่อาจหลีกเลี่ยง ไม่ว่าธุรกิจ หรือ ครอบครัว ก็จะไม่เกิดการแตกแยกเพราะต่างคนต่างคิดแน่นอน


ไม่ว่าเป็นผู้นำในองค์กรใด ก็สามารถนำแนวคิดเหล่านี้ไปปรับใช้ได้เช่นกัน เพราะ การสื่อสาร เป็นรากฐานของการติดต่อประสานงาน และการทำงานทุกรูปแบบ หากคนเข้าใจ และกล้าที่จะพูดคุยกัน ต่อให้จะมีความแตกต่างแค่ไหน ก็จะต้องตรงกลางที่จะทำให้ก้าวต่อไปได้อย่างแน่นอนค่ะ





Credit: Harvard Business Review

M.I.S.S.CONSULT The Leadership Solution Specialist (LSS)


Comentários


bottom of page