top of page

The Growth Journal

Writer's picturettanyaniyomkij

Leadership & Soft Skills: ผู้บริหารและทักษะการบริหาร


Leadership & Soft skills

ผู้นำองค์กร และ Soft Skills กระแสผู้นำองค์กร ณ ปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อภาพรวมขององค์กร หลายๆ องค์กรมักมีแนวความคิดว่า ผู้นำที่เก่ง คือ ผู้นำที่มีทักษะหรือความสามารถในงานดังกล่าวโดดเด่น

มีการเก็บสำรวจผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น วิลเลียม บิลลเกต ( William Bill gate) สตีฟ จอ๊ป ( Steve Job) หรือ กระแสผู้นำตัวอย่างของโลกที่น่าสนใจ ณ ปัจจุบันของ Starbucks หรือ Jim Donald หรือ Jeff Bezos ของ Amazon หรือ ผู้นำอื่นๆ ที่โดดเด่นอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวถึง พบว่า ผู้นำเหล่านั้น ไม่ได้มี Technical Skills ที่โดดเด่นเท่ากับ Soft skills

คุณอาจเถียงว่า วิลเลียม บิลลเกต มีความเก่งด้าน Technical Skill อันนี้แน่นอน แต่เมื่อมีการวัดกันในจุดที่ บิลลเกต เป็นผู้นำของ Microsoft อย่างเต็มตัว เราพบว่า เขามี Soft skill ที่โดดเด่นมากกว่า Technical Skill (แต่แน่นอนว่า ในช่วงการเริ่มต้นการทำงาน พวกเขาเหล่านี้ก็ต้องมี technical skill ที่ดีในงานที่พวกเขาทำ)

มีการทำผลสำรวจ แสดงให้เห็นถึง ผลระดับทักษะที่พบและจำเป็นต้องมีของคนทำงาน จากมหาวิทยาลัย ฮาร์ดวาร์ด พบว่ามีลักษณะการเปรียบเทียบดังนี้

  • Technical Skill จัดเป็น Hard Skills ที่เด่นชัด เพราะเป็นความรู้และทักษะที่ควรมีสำหรับการทำงาน ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ดังนั้น ผู้ที่เก่งด้าน Technical Skill จะเก่งด้านการทำงานกับเครื่องมือ สิ่งของ หรือการลงมือปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง

  • Human Skill จัดเป็น Soft Skills ที่เด่นชัด เพราะ เป็นทักษะความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่น การควบคุมอารมณ์ การบริหารจัดการคน การติดต่อกับบุคคลอื่น หรือ พูดง่ายๆว่าเป็นทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น นั่นเอง

  • Conceptual Skill คือ ความสามารถในการทำงานกับแนวความคิด กรอบความคิด หรือ ประเภท idea&concept ซึ่งทำให้เป็นลักษณะผสมระหว่าง Hard skill&Soft Skill แต่โดยส่วนใหญ่ ก็จะถูกจัดให้เป็น soft skills รูปแบบหนึ่ง

จากภาพแสดงข้างบน

จากภาพแสดงข้างบน การอ่านค่า คือ การเปรียบเทียบว่า ณ ปัจจุบัน ระดับตำแหน่งงานของคุณ เมื่อเปรียบเทียบกับทักษะในความเป็นสัดส่วนที่จำเป็นว่าสิ่งใดควรมีมากหรือน้อยกว่ากัน

  • Top Management: จะเห็นว่า ระดับของ Technical Skill น้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่า ในระดับทักษะที่จำเป็นและต้องมีของ ผู้นำระดับสูง คือ ทักษะด้าน Human & Conceptual ที่คุณจำเป็นต้องเก่งอย่างโดดเด่น และ จำเป็นต้องเด่นอย่างทัดเทียมกัน ถ้าคุณเก่ง Conceptual แต่ด้อย Human ก็มีแนวโน้มว่า คุณเป็น Top Management ที่มีทักษะด้านวิสัยทัศน์ที่ดี แต่ขาดทักษะการจูงใจและการสร้างทีม สร้างสัมพันธ์ภาพ ในทางกลับกัน ถ้าคุณเด่น Human มากกว่า Conceptual ก็มีแนวโน้มว่า เป็นผู้บริหารที่ด้อยด้านการคิดเชิงวิสัยทัศน์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า Human & Conceptual เป็น Soft skills ที่สำคัญเท่าเทียมกัน สำหรับตำแหน่งงาน Top Managment ขณะที่ Technical Skills ไม่จำเป็นต้องเด่น หรือ เก่งมากมาย นั่นคือ เหตุผลที่ว่า คุณทำไม ต้องจ้างคนเก่งมาลงมือทำงานปฏิบัติ แต่คุณเองต้องเก่งด้านการวางแผน และ การมองเห็นโอกาสที่คนอื่นไม่เห็น

  • Middle Management: เห็นได้ชัดว่า ในตำแหน่งงานของผู้บริหารระดับกลาง คุณจำเป็นต้องมีทักษะที่โดดเด่นทั้งสามด้าน แต่ส่วนใหญ่ เรามักพบว่า ผู้บริหารระดับกลางจะยึดติดอยู่กับทักษะด้าน Technical Skills และมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับทักษะด้าน Human & Conceptual ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่า ผู้บริหารระดับกลางหลายๆคน ไม่สามารถที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นต่อไปนี้ หรือ สามารถเป็นได้ ( ด้วยแรงผลักดัน) แต่ไม่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นในฐานะผู้นำองค์กรให้แก่องค์กรได้ (หรือ เรียกง่ายๆ ว่า ไม่ประสบความสำเร็จในการเป็น Top Management นั่นเอง)

  • Supervisory Management: ระดับที่จำเป็นต้องโดดเด่นในด้าน Technical Skills หรือ ทักษะหลักที่ต้องการ ซึ่งจำเป็นเพียงพอกับทักษะ soft skill ในด้านของ Human เพราะ ในตำแหน่งงานของ Supervisory Managment คุณจำเป็นต้องเก่งในทักษะหลักและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงานเป็นทีม ถ้าคุณเก่งเป็น Technical Skill หรือ ทักษะหลักเพียงอย่างเดียว โอกาสน้อยมากที่คุณจะสามารถเติบโตต่อไปได้ เพราะ คุณไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ขณะที่ Conceptual Skill ในระดับของ Supervisory ยังไม่จำเป็นต้องโดดเด่นมากนัก เพราะ คุณยังคงอยู่ในช่วงของการเรียนรู้ ซึ่งจะถูกพัฒนาโดยลำดับขั้นนั่นเอง

(หมายเหตุ: Leadership Test เป็นแบบประเมินทางจิตวิทยา ที่สามารถประเมินหาระดับทักษะปัจจุบันของคุณทั้ง 3 ด้านสำหรับการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบ contact)

ในที่นี้ไม่ได้แสดงกราฟให้เห็นของในระดับพนักงานทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ที่สำคัญก็คือ Technical Skill หรือ ทักษะหลัก แต่ถ้าคุณมี Human Skill ก็จะสามารถส่งเสริมคุณให้โดดเด่นมากกว่าคนอื่น และ เติบโตในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว

บทสรุป

ในตำแหน่งงานที่สูงมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นคือ Soft Skill ถ้าคุณเป็นผู้บริหาร หรือ ต้องการเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ แน่นอนว่า คุณไม่จำเป็นต้องเก่งในทักษะหลักอย่างมากมาย แต่สิ่งที่คุณจำเป็นต้องเก่งให้มากที่สุด หรือ ขาดแทบไม่ได้ คือ ทักษะด้าน Human และ Conceptual หรือ ทักษะในความเป็น Soft Skill นั่นเอง

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไม หลายๆ องค์กร ต่างก็พบอุปสรรคสำคัญของผู้บริหาร ที่เรียกว่า มีผู้บริหารที่ขาดลักษณะของผู้นำ นั่นเป็นเพราะสาเหตุจากการขาดพัฒนาทักษะ Soft Skill ก่อนเข้าทำงานบริหาร เพราะ อาจจะเด่นด้าน Technical แต่ขาดทักษะด้าน Soft Skill (Human & Conceptual) หรือ ผู้บริหารมีลักษณะของผู้นำ แต่ยังดูเหมือนไม่สามารถสร้างทีมที่โดดเด่นให้แก่องค์กรได้ ก็มีแนวโน้มว่า ท่านผู้บริหารดังกล่าว ขาดทักษะ Human Skill

ผู้บริหารที่เก่ง สามารถสร้างทีมได้ แต่ไม่สามารถทำให้เกิดแรงกระตุ้นต่อสิ่งใหม่ๆ หรือ การพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ๆ หรือ การสร้างกำลังใจ ให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ทำในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นได้ ผู้นำแบบนี้ คือ ผู้นำที่เด่นด้านวิสัยทัศน์ แสดงให้เห็นว่า ท่านผู้นำขาด Conceptual skill

ถ้าผู้นำ ในระดับผู้นำองค์กร หรือ มีอิทธิพลในระดับการกำหนดเป้าหมายองค์กร เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ Soft Skill ทั้งคู่ ต้องอยู่ด้วยกัน คือ ต้องมีทั้ง Human (ทักษะทางสังคม การติดต่อผู้อื่น และ การทำงานร่วมกับคนอื่น) และ Conceptual Skill (การมองเห็นภาพรวม การสร้างวิสัยทัศน์ และ การสร้างแรงกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นในองค์กรและทีมงาน เพื่อการพัฒนาขององค์กรอย่างโดดเด่น)

ผู้บริหารส่วนใหญ่มักเก่ง Technical Skill ทำให้พบว่า ปัญหาสำคัญต่อมาคือ การไม่สามารถกระจายงานต่อได้ เพราะ Technical Skill ถือเป็นทักษะแรกที่ผู้ทำงานทุกคนต้องเก่ง จึงจะได้รับความไว้วางใจในการเลื่อนตำแหน่งและรับผิดชอบมากขึ้น แต่เมื่อเลื่อนตำแหน่ง กลับกลายเป็นว่า องค์กรไม่มีการ เตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะ Soft Skill ให้ ทำให้ผู้บริหารต้องเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์จริง ทำให้เกิดความผิดพลาด จนบางครั้ง อาจทำให้เกิดความกลัวและไม่อยากเรียนรู้อีกต่อไป จึงยังคงเน้นไปยังการสร้างจุดขายความสามารถทางด้าน Technical Skill จนละเลยการวางแผนการพัฒนาบุคคลากรของตนเองอย่างมีหลักการ ผ่าน Human & Conceptual skills

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้องค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ต่างก็มีแผนเตรียมความพร้อมทางการพัฒนาผู้บริหารทุกคนก่อนเข้าสู่ตำแหน่งการบริหารอย่างเต็มตัว นั่นคือการเรียนรู้ Being a Managers หรือ Being A Boss ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ทำงานในตำแหน่งงานบริหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ในอดีต บางองค์กรต้องการผู้บริหารที่จบ MBA เพราะมั่นใจว่าจะมีทักษะการบริหารที่ดีอย่างไรก็ตาม พบว่า การบริหารบุคคล มีความเฉพาะตัวขององค์กร ดังนั้นการเตรียมความพร้อมดังกล่าว ตอบสนองต่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการบริหาร Retention ได้อย่างเห็นผลสำเร็จอย่างแท้จริง

คุณละ มีระดับ Technical, Human และ Conceptual Skills ในระดับรูปแบบใด และ รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานและความรับผิดชอบของคุณหรือไม่?

- MissConsult

Copyright 2015-2020: บทความ ข้อความ ข้อมูล รวมความถึง เนื้อหารายละเอียด ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ MissConsult Co., Ltd. การเก็บข้อมูล อาจทำได้โดยวัตถุประสงค์ส่วนบุคคล โดยไม่เกี่ยวข้องกับทางการค้า สื่อ หรือ ตีพิมพ์ซ้ำ คัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใด เพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจ การ ทำซ้ำ เผยแพร่ ตีพิมพ์ หรือ จำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัท บริษัทจะดำเนินการ ตามกฎหมาย กับผู้ละเมิดสิทธิ์ดังกล่าวโดยทันที


Kommentare


bottom of page