อะไรคือความหมายที่แท้จริงของความเป็นผู้นำ แล้ว ความเป็นผู้นำ ต่างจาก การบริหาร อย่างไร?
วิลเลียม เช็คสเปียร์ กล่าวว่า “ บางคนเกิดมาพร้อมความยิ่งใหญ่ บางคนต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งความยิ่งใหญ่ และบางคนได้รับความสำเร็จชั่วข้ามคืน ” ผู้นำที่ดีก็มีความหมายเช่นเดียวกับ “ความยิ่งใหญ่” เพราะ พวกเขามีอำนาจในการจูงใจ และ สร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบตัวเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ ผู้นำคือผู้สรรสร้างแรงขับเคลื่อน ความเคารพ ความเชื่อใจ และความภักดี จากผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น ความเป็นผู้นำ จึงถูกนิยามโดยทั่วไปว่า “ วิธีการจูงใจผู้คนและทำให้พวกเขาเดินไปเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร ผู้นำจะให้ความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย หรือ วิสัยทัศน์ อย่างกว้างขวาวโดยปราศจากกรอบเวลาที่แน่นอน ”
บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนระหว่าง ผู้นำ และ การบริหาร เพื่อที่จะเข้าใจแก่นแท้ของผู้นำที่แท้จริง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ผู้นำ” และ “นักบริหาร”
Follett (1868 – 1933) นิยามคำว่า การบริหาร (Management) ไว้ว่า “ศิลปะของการทำให้สำเร็จผ่านผู้คน” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา และ การตัดสินใจ โดยเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการวางแผน บริหารจัดการ ประสานงาน และ จัดการทรัพยากรเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร
ทั้งสองอย่างนี้เป็นส่วนสำคัญของทุกองค์กร อย่างไรก็ตาม สองคำนี้มักถูกใช้แทนกันบ่อยๆ แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่าง “ผู้นำ” และ “นักบริหาร”?
1. เวลา และ ความทุ่มเท
นักบริหารมักถูกมองว่าเป็นผู้ทำงานแบบ 9.00-18.00 น. ในขณะที่ผู้นำจะรับผิดชอบงานตลอด 24 ชม. ผู้บริหารใช้เวลาในการวางกลยุทธ์และเป้าหมายประจำวันในระยะสั้น ส่วนผู้นำนั้นจะเป็นผู้มองการณ์ไกลอย่างมีวิสัยทัศน์ เพราะ พวกเขาจะมองที่อนาคตขององค์กร พวกเขาไม่ได้ใช้เวลาบนปริมาณ แต่พวกเขาใช้เวลาเพื่อสร้างกำไร ความพยายาม แรงผลักดัน พลังงาน ให้องค์กรเดินหน้า และความฝันของพวกเขาเป็นจริง เวลาเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของผู้นำ ขณะที่นักบริหารจะคำนวณเวลาเพื่อการทำงานของพวกเขาให้สำเร็จ เป็นเรื่องปกติของผู้บริหารที่จะมองงานเป็นความรับผิดชอบ ส่วนผู้นำจะมองงานเป็นแรงผลักดันชีวิตซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่าง
2. บทบาท และ ความรับผิดชอบ
ผู้จัดการจะทำงานตาม job description และ ถูกรับผิดชอบโดยผู้จัดการอาวุโส รวมถึงบอร์ดบริหารอีกต่อหนึ่ง พวกเขาจะตอบรับผู้บริหารที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าพวกเขาเท่านั้น ขณะที่ผู้นำจะรับผิดชอบการทำงานทั้งระบบ และตอบรับทุกคนไม่ว่าจะภายในภายนอกองค์กร ผู้นำจะบริหารบนคำถามว่า อะไร และ ทำไม เช่น สตีฟ จ็อบส์ จะคอยบอกพนักงานแอปเปิ้ลเสมอว่า พวกเขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลกได้” ในทางกลับกัน ผู้บริหารจะกังวลแค่คำถามทั่วๆ ไปแบบวันต่อวัน
3. แรงจูงใจต่อคนอื่น
การทำให้เกิดแรงจูงใจหรือการมีอิทธิพลต่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่เป็นการทำตามโดยสมัครใจ เพราะ พวกเขาจะทำด้วยความเคาพ ความนับถือ ต่อผู้ที่พวกเขาเลื่อมใส ผู้ทำงานรับฟังผู้จัดการด้วยหน้าที่ที่ต้องฟังและปฏิบัติตาม ทว่าอิทธิพลของผู้นำจะแข็งแกร่งและทรงพลังมากกว่า เพราะ นอกเหนือจากการฟังคำสั่ง ผู้ทำงานจะรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจจากการฟังนั้น และ ทำตามด้วยความตั้งใจของตนเอง ดังนั้น ผู้นำจึงมีส่วนร่วมในสังคมมากกว่าผู้บริหารนั่นเอง
4. การรับความเสี่ยง
ผู้บริหารจะทำตามกฎและนโนบายองค์กร ขณะที่ผู้นำเป็นผู้กล้าที่จะสร้างกฎและจัดระเบียบนโยบายขึ้น พวกเขามีความสามารถในการรับความเสี่ยง เพื่อที่จะผนวกปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกผลงาน ใช้วิสัยทัศน์ของพวกเขาในการสร้างความสำเร็จแก่องค์กรให้ได้ ความสามารถนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะกล้าทำ และที่สำคัญผู้นำเป็นที่ต้องการ เพราะ พวกเขามีความสามารถในการติดตามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ยอมรับความเสี่ยง และกล้าที่คิดแนวทางให้เกิดความสำเร็จ พวกเขากล้าเสี่ยง โดยท้าทายด้วยการคิด “ต่าง” เช่น สตีฟ จ็อบส์ ออกแคมเปญชื่อว่า “Think Different” เพราะ เขาเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้
ความแตกต่างที่นำมาพูดถึงในวันนี้เป็นปัจจัยที่โดดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้ความเป็นผู้นำและการบริหารแตกต่างกัน แท้จริงแล้วความแตกต่างที่ชัดที่สุด คือ วิสัยทัศน์ของผู้นำที่ขับเคลื่อนพวกเขาไปสู่การประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้บริหารทั่วไป ดังคำที่ นโปเลียน โบนาปาร์ต เคยอธิบายไว้ “ผู้นำ คือ พ่อค้าความหวัง” ผู้นำสร้างวัฒนธรรมแห่งความหวัง พวกเขาคือผู้ที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำทางความคิด กล้าที่จะคิดต่าง และฝันที่ยิ่งใหญ่
Credit: SpeedLabs
M.I.S.S.CONSULT The Leadership Solution Specialist (LSS)
Comentários