ทุกวันนี้โลกของการทำงานเกิดการแข่งขันที่เข้มข้นและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้าจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและดีที่สุด
ทำให้หลายองค์กรปรับรูปแบบการทำงานมาเป็น Project-Based หรือการทำงานรูปแบบทีมที่รวบรวมคนเก่งจากหลากหลายแผนกมาทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สิ่งที่ตามมาเมื่อคนหลายคนที่มีทั้งความเก่งและความต่างกันต้องมาอยู่รวมกัน ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีขัดแข้งขัดขาไม่ลงรอยกันบ้าง สิ่งที่น่าสนใจคือแล้วเมื่อเกิดความตึงเครียดขึ้น เกิดความขัดแย้งขึ้น คุณในฐานะผู้ทำงานมืออาชีพ สามารถบริหารตัวเองได้ดีแค่ไหน? เพื่อที่เราจะบริหารตัวเองให้มี Healthy Mind ได้ วันนี้มาทำความเข้าใจ หนึ่งในพฤติกรรมทำลายล้างเมื่อเกิดความขัดแย้งที่เราอาจทำโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวกันครับ
จากงานศึกษาของ Wiley ได้สอบถามคนกว่า 12,000 คน ว่า “อะไรคือคำแรกหรือสิ่งแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวเมื่อคิดถึงเรื่องความขัดแย้งของคนในที่ทำงาน?” เชื่อไหมครับว่าคำตอบที่ผุดขึ้นมาในใจหลาย ๆ คนมากที่สุดคืออะไร คำตอบก็คือ เรื่อง “ดราม่า!” ในที่ทำงาน เรื่องที่จะกลายเป็นดราม่าได้ง่ายที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นความขัดแย้งระหว่างผู้ทำงานในองค์กรเดียวกันซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนในองค์กรให้ความสนใจ อย่างที่เราได้พูดถึงไว้ในบทความก่อน ๆ ความขัดแย้ง คือ สิ่งที่ทำให้เราอึดอัด ไม่สบายใจ แต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะ มีอยู่ในทุกองค์กร
ดังนั้น หลาย ๆ คนก็ไม่อยากรับรู้ว่ามีความขัดแย้งอะไรเกิดขึ้นใครขัดแย้งกันถ้าเป็นไปได้ ทว่าในความเป็นจริง ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพไหน อยู่ในตำแหน่งอะไร องค์กรใด ประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน คุณก็ไม่อาจหนีจากความขัดแย้งไปได้ และความขัดแย้งนั่นแหละที่สุดท้ายกลายเป็นประเด็น ดราม่า!
หลายคนอาจคิดว่าความขัดแย้งก็แค่เรื่องของคน ๆ นึงมีปัญหากับคนอีกคน ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือไม่ใช่เรื่องของเรา หรือถ้ามันเกิดขึ้นโดยมีเราเป็นตัวเอกในเรื่องนั้น ๆ มันก็เป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น แต่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญเลยคือ ความขัดแย้งนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ
และเมื่อเกิดความไม่ไว้วางใจในองค์กร สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบต่อการทำงาน ต่อผลิตภาพขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของกำลังใจในการทำงานของบุคลากร คุณภาพงานที่ออกมาก็อาจแย่ลง ยากต่อการรับสมัครคนทำงานใหม่ ขณะเดียวกันก็ยากที่จะรักษาคนเก่าที่มีความสามารถไว้ด้วย ท้ายที่สุดความขัดแย้งสามารถสร้างความเสียหายให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้
ดราม่าทำให้เกิดอะไรได้มากมาย และแน่นอนว่าดราม่าจากความขัดแย้งในที่ทำงานไม่เคยเป็นเรื่องดี ซ้ำยังออกไปในทางทำลายเสียมากกว่า เรียกได้ว่า “ความขัดแย้งที่เป็นพิษร้าย (toxic)” ซึ่งสามารถส่งผลกระทบเชิงลบไปยังทุกอย่างในองค์กรของคุณได้เลยทีเดียว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องไหนล่ะคือดราม่า? คุณจะสังเกตได้เมื่อมีคนแสดงออกต่อเรื่องอะไรบางอย่างเว่อร์เกินจริง ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องแย่ ๆ แต่ทำไมคนถึงยังเป็นเช่นนี้อยู่ล่ะ?
หนึ่งเหตุผลที่ยังทำให้คนเราแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ก็เพราะ การแสดงออกแบบเล่นใหญ่มันทำให้เรารู้สึกดีขึ้นจากเหตุการณ์ที่เจอมา มันทำให้เราได้รับความสนใจ จนทำให้รู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญและมันไม่ยุติธรรม เป็นเหมือนวิธีที่ทำให้เราอยู่เหนือเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งที่ความจริงเราจะรู้สึกว่าเราควบคุมอะไรไม่ได้เลย
ถ้าจะลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็เหมือนกับเด็กวัยหัดเดิน เวลาที่เขาอยากได้อะไรก็ต้องได้ แต่เขาไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เด็กส่วนใหญ่จึงกรีดร้องหรือร้องไห้เมื่ออะไรไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ซึ่งทำไปก็เพื่อให้ผู้ปกครองให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจในที่ทำงานอาจไม่สามารถเปรียบเทียบกับอารมณ์ของเด็กวัยหัดเดินได้ เพราะ เรื่องราวที่เกิดขึ้นมักจะแตกต่างกันไปตามคนเล่า แต่ในมุมของผู้สังเกตการณ์ พฤติกรรมเหล่านี้สร้างความสับสน หรือสร้างความงุนงงได้
ทีนี้ เราลองมาคิดในมุมของลูกจ้างคนหนึ่งที่ได้รับข้อตำหนิหรือฟีดแบคจากเจ้านายในการทำงาน เน้นว่าเป็นเรื่องงานเท่านั้น แต่ลูกจ้างคนนี้ไม่พอใจที่ถูกตำหนิ จึงนำความไม่พอใจนี้ไปนินทาเจ้านายลับหลังให้คนในออฟฟิศฟัง แทนที่จะนำข้อตำหนิที่ได้รับไปพัฒนางานเพื่อพิสูจน์ฝีมือ เหตุการณ์นี้ลูกจ้างกระตุ้นให้เกิดดราม่าขึ้นมา เพราะ ต้องการความสนใจ ต้องการทำให้ตนรู้สึกว่าตัวเองไม่ผิด และระบายความรู้สึกของตนเองโดยไม่คำนึงว่าการนินทาเจ้านาย จะทำให้คนอื่นเกิดอคติกับนายจ้างทั้งที่ความจริงอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าหลังจากการนินทาได้จบลง มันไม่ได้จบเพียงแค่ระบายแล้วจบไป แต่ดราม่าจะกลายเป็นความขัดแย้งได้ เพราะถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข ในอนาคตคนอื่นในออฟฟิศอาจพลอยผิดใจกับนายจ้างไปด้วยจนส่งผลต่อการทำงานก็ได้
หากคุณอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้านายหรือผู้บริหาร คุณก็คงไม่อยากให้ลูกน้องหรือคนในทีมของคุณเข้าใจเจตนาที่ดีของคุณไปแบบผิด ๆ แล้วทำให้มองหน้ากันไม่ติดเหมือนกัน จริงไหม?
“ดราม่า” อาจเป็นคำสามัญที่ใช้คู่กับความขัดแย้งในที่ทำงานเชิงลบ แต่มันก็เป็นหนึ่งในหลายพฤติกรรมที่บ่อนทำลายวัฒนธรรมการทำงานที่ดีขององค์กร ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นาน พฤติกรรมที่เป็นพิษเหล่านี้จะกลายเป็นปัญหาที่คุกคามความเป็นอยู่ขององค์กรได้เหมือนกัน
หากคุณไม่ได้เป็นสองคนที่ขัดแย้งกันแต่เป็นบุคคลที่สาม หรือแม้แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีความขัดแย้งเอง คุณสามารถเลือกได้ว่าคุณจะจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไร คุณเลือกได้ว่าจะจัดการหรือจะปล่อยผ่าน
จุดนี้เองที่ Everything DiSC® Productive Conflict ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมเหล่านี้ รวมถึงเรื่องดราม่าและพฤติกรรมที่เป็นพิษอื่น ๆ เช่น การพูดจาเหน็บแนม การใส่ร้ายคนอื่น การพูดแก้ต่างตัวเองจากผิดให้เป็นถูก เป็นต้น
Productive Conflict จะช่วยให้คุณเข้าใจการรับมือความขัดแย้งที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลโดยเฉพาะในที่ทำงาน ในมุมของคุณอาจจะดูเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการความขัดแย้งหรือดราม่าในที่ทำงาน แต่ในมุมของเราคุณทำได้!
คุณสามารถเลือกได้ว่าคุณจะทำอย่างไรเมื่อเกิดความขัดแย้ง จะทำให้เรื่องแย่ลงโดยการปล่อยผ่าน หรือจะควบคุมแล้วเปลี่ยนให้เป็นความขัดแย้งที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์
Everything DiSC® Productive Conflict จะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยใช้หลักการทางจิตวิทยา เมื่อเรารู้ว่านิสัยหรือหรือพฤติกรรมอะไรของเราที่เป็นตัวทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น เมื่อนั้นเราจะสามารถหยุดตัวเองได้ก่อนที่เราจะมีส่วนร่วมในความขัดแย้งนั้น ๆ ให้ลองคิดถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนแล้วเลือกทางที่จะทำให้ความขัดแย้งที่เกิดเป็นความขัดแย้งที่นำไปสู่การพัฒนา หรือที่เราเรียกว่า “Healthy Conflict” ตราบเท่าที่เรายังต้องการผลงานที่มีคุณภาพ เราต้องแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน คุณคิดเหมือนกันไหม?
หากคุณไม่ชอบเรื่องดราม่า หรือไม่อยากอยู่ในดราม่าเสียเอง อย่าลืมร่วมด้วยช่วยกันแชร์ไปให้เพื่อร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง ได้อ่าน เพื่อสร้างความเข้าใจในที่ทำงานให้เป็นที่ ๆ น่าอยู่กันนะครับ
Comments