top of page

The Growth Journal

Writer's pictureMC

You Don’t Have to Be CEO to Be a Visionary Leader

ผู้นำวิสัยทัศน์กว้างไกล ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็น CEO!


การสร้างวิสัยทัศน์เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร ถือเป็นทักษะพื้นฐานของการเป็นผู้นำ โดยความเรียบง่าย กล้าหาญ และวิสัยทัศน์สร้างแรงบันดาลใจ สามารถรวมใจของผู้คนในองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวกันบนเป้าหมายเดียวกัน และเพิ่มจุดโฟกัสในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อความสำเร็จในอนาคตได้มากขึ้น วิสัยทัศน์ของผู้นำจึงเป็นเหมือนเวทย์มนตร์ที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม ผู้คนกลับมองว่าการสร้างวิสัยทัศน์เป็นเรื่องของผู้นำระดับสูงมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของผู้บริหารคนอื่นๆ ที่เหลือขององค์กร เหมือนคำพูดที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ว่า “ผู้นำคือผู้กำหนดทิศทางขององค์กร ขณะที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการดูแลเพียงการดำเนินงานในแต่ละวันให้เสร็จสิ้น”


หากคุณอยู่ในระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร (หรือผู้นำ) คุณก็ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สามารถออกแบบวิสัยทัศน์แก่องค์กรได้เช่นกัน จากการวิจัยของ HBR มีการระบุ 3 โอกาสสร้างวิสัยทัศน์ที่คุณสามารถทำได้แม้ว่าคุณจะไม่ใช่ CEO ของบริษัทก็ตาม ได้แก่ การสนับสนุนวิสัยทัศน์การทำงานของผู้นำ ส่งต่อวิสัยทัศน์องค์กรสู่ทีมของคุณ และ การพัฒนาวิสัยทัศน์ของทีมแนวหน้าใหม่ให้สามารถต่อยอดกับองค์กรได้ ทั้ง 3 อย่างนี้คือ โอกาสในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ การเติบโตในการงานและการมีความรับผิดชอบที่ใหญ่ของคุณเอง แล้วคุณจะทำให้เกิด 3 อย่างนี้อย่างไร?


จะส่งเสริมวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างไร


การสร้างวิสัยทัศน์ต้องมีองค์ประกอบบางอย่างในการมองไปสู่อนาคต แต่ผู้นำระดับสูงที่ดีรู้ว่าพวกเขาขาดข้อมูลสำคัญ พวกเขายังอยู่ห่างไกลจากประสบการณ์ของลูกค้า ความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน และความหวังความฝันของผู้ที่ทำงานให้กับพวกเขา การที่ผู้นำต้องการเข้าถึงประสบการณ์ของผู้ทำงานในองค์กรสามารถสร้างความประทับใจและช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงเชื่อมโยงผู้ทำงานได้สำเร็จ

ยกตัวอย่างแนวคิดของ Sam Palmisano ที่ IBM ในปี 2003 เขาว่าจ้างผู้ทำงานนับพันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในกระบวกการ Global Service Jam ที่ผู้นำหลายเมืองใช้ ให้ชาวเมืองได้มีโอกาสบอกปัญหา และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงชุมชนของตนเอง การให้ผู้คนอาสาแสดงมุมมองเป็นการสะสมวิธีการแก้ปัญหา นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการเริ่มต้นพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ของคุณ และ ยังได้เรียนรู้จากผู้ที่สัมผัสกับปัญหาโดยตรงอีกด้วย


อีกหนึ่งตัวอย่างวิสัยทัศน์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ CEO เพียงคนเดียว จากธนาคารโลก ย้อนกลับไปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดี James Wolfensohn เห็นความจำเป็นของการสร้างสถานบันใหม่ ซึ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทิศทาง หรือ วัตถุประสงค์ เพื่อกำจัดความยากจนให้หมดไป ในการบรรลุเป้าหมายนี้ เขาต้องจัดประชุมกับผู้คนมากมาย ทำงานร่วมกันกับทั้ง ลูกค้า สมาชิกรัฐสภาพ และ ผู้บริหารผู้ทำงานจากหลายภาคส่วน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนี้ เขาต้องการทำความฝันที่ “โลกนี้จะปราศจากความยากจน” ขึ้น ซึ่งเขาทำสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง ผ่านการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพ ภายในองค์กร เพิ่มการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ สร้างมาตรฐานความสามารถที่สูงขึ้นเพื่อดึงดูดและพัฒนา วัฒนธรรมและมาตรฐานต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดธนาคารโลกเช่นปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากประธานาธิบดีเพียงคนเดียว แต่สำเร็จได้ เพราะ ผู้คนหลากหลายที่ไม่ได้เป็น CEO หรือ ผู้บริหารระดับสูง


การส่งต่อวิสัยทัศน์องค์กรเข้าสู่ทีม


แม้ว่าคุณจะไม่มีโอกาสในการร่างวิสัยทัศน์นั้นๆ ขององค์กรขึ้นมา แต่หากคุณเป็นผู้นำในทุกระดับขององค์กร คุณจะนำวิสัยทัศน์นั้นเข้าสู่การทำงานร่วมกับทีมของคุณ และทำให้ทีมของคุณมีส่วนร่วมในการทำให้วิสัยทัศน์นั้นเกิดขึ้น จากส่วนเล็กๆ ในทีมคุณได้


ตัวอย่างเช่นธนาคารโลก Dennis Whittle หัวหน้าทีมกลยุทธ์เล็กๆ ทีมหนึ่ง เขานำคอนเซปเรื่อง “โลกที่ปราศจากความยากจน” มาระดมความคิดกับทีมของเขาในรูปแบบที่จับต้องได้ ซึ่งทำให้พวกเขาได้กลยุทธ์การลดความยากจนใหม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากทุกแห่งบนโลก ไม่ใช่เพียงแค่ผู้เชี่ยวชาญในธนาคารเท่านั้น ความคิดนี้ทำให้เกิด “การพัฒนาตลาดซื้อขาย” ขึ้น โดยผู้คนมากมายทั่วโลกสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นได้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และ การแข่งขัน


หรืออย่าง Amazon หากคุณนำทีมการขนส่ง โดยมีเป้าหมายองค์กรอยู่ที่ “การเป็นศูนย์กลางการซื้อขายของโลกที่ทุกคนสามารถหาซื้อทุกอย่างที่ต้องการได้” คุณสามารถนำแนวคิดนี้เข้าสู่ทีมคุณ และต่อยอดไปได้ว่าคุณจะทำอย่างไรเพื่อเติมเต็มแนวคิดนี้ และ เพิ่มความเร็วในการขนส่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และส่งเสริมแนวคิด “หาทุกอย่างที่คุณต้องการซื้อได้” ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


การมีส่วนร่วมในวิสัยทัศน์จากส่วนเล็กๆ นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อผู้นำได้รับมุมมองที่หลากหลาย และมีไอเดียที่พวกเขาอาจคาดไม่ถึงให้พวกเขาได้ค้นหา ถึงจะเป็นการกระทำที่เรียบง่าย แต่การนำวิสัยทัศน์องค์กรมาต่อยอดความคิดเพื่อส่งออกผลงานที่ตอบสนองจากแผนกต่างๆ ที่คุณอยู่ ก็เป็นการมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จแก่องค์กรเช่นกัน และที่สำคัญต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบให้เข้าใจตรงกับผู้นำที่ให้แนวทางขององค์กรคุณด้วย


กระตุ้นวิสัยทัศน์ใหม่ๆ เริ่มได้จากตัวคุณเอง


บางครั้งวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ขององค์กรก็ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจาก CEO เสมอไป มีวิสัยทัศน์มากมายที่เกิดขึ้นจากผู้บริหารหรือผู้นำที่รองจาก CEO เป็นต้นไป เป็นผู้ริเริ่ม เช่น สถานี PBS ประสบความสำเร็จจากช่องรายการสำหรับเด็ก (PBS Kids 24/7) ไอเดียของช่องนี้ไม่ได้เกิดจาก CEO แต่เป็น Lesli Rotenberg SVP ของฝ่ายสื่อสำหรับเด็ก เธอนำเสนอแนวคิดของเธอแก่ CEO และโน้มน้าวให้ CEO เห็นความสอดคล้องต่อวิสัยทัศน์โดยรวมของสถานี และสามารถพัฒนาไอเดียอย่างคุ้มค่าใช้จ่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชม จนกลายเป็นความสำเร็จขององค์กร


องค์กรของคุณอาจยังไม่พร้อมต่อการพัฒนาวิสัยทัศน์จากล่างขึ้นบน แต่ความต้องการในยุคปัจจุบันที่ต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องจะเป็นตัวส่งเสริมแนวคิดใหม่ๆ ของคุณให้ผู้นำองค์กรได้เห็นเองเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เพราะ ความรวดเร็วทางความคิดและเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นไม่ได้ด้วยตัวคนเดียวอีกต่อไป หากวันนี้คุณมีไอเดียเจ๋งๆ แต่วันนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับ ขอให้คุณอย่าเพิ่งทิ้งมันไป แต่ให้หาสิ่งที่คุณต้องปรับในไอเดียนี้ เพื่อให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กร แล้ววันหนึ่งคุณจะต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน


เป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์


แล้วคุณจะนำตัวเองไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวิสัยทัศน์หรือพัฒนาความเป็นผู้นำในส่วนของวิสัยทัศน์ได้อย่างไร? แน่นอนว่าในทุกสถานการณ์ย่อมมีความแตกต่าง มาดูเคล็ดลับที่จะช่วยพัฒนาโอกาสการมีส่วนร่วมในการริเริ่มและมีความก้าวหน้าในวิสัยทัศน์


1. ทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าวิสัยทัศน์คืออะไร และ ทำไมจึงมีความสำคัญ


คุณต้องไม่สับสนระหว่างคำเหล่านี้ “วิสัยทัศน์” (ภาพความสำเร็จในอนาคตที่คุณต้องการ) “พันธกิจ” (สิ่งที่ดำรงไว้ซึ่งความเป็นองค์กร) “คุณค่า” (หลักการและความเชื่อที่องค์กรเลือกใช้และให้ความสำคัญ) หรือ “กลยุทธ์” (รูปแบบการตัดสินใจที่กำหนดแนวทางการแข่งขันที่จะนำวิสัยทัศน์มาใช้จริง) ส่วนใหญ่แล้วองค์กรจะเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ๆ บ่อยกว่าพันธกิจ เพราะ เป็นแนวทางในการยกระดับการส่งออกผลงานของพวกเขา


2. หมั่นสังเกตโอกาสอันหลากหลายที่สามารถทำได้


มีส่วนร่วมในวิสัยทัศน์หรืองานของผู้นำคนอื่นๆ โดยนำวิสัยทัศน์ที่ผ่านการเห็นชอบในองค์กรมาแล้วมาปรับใช้ในหน่วยงานหรือทีมที่คุณดูแลอยู่ หรือการโฟกัสไปที่การทำงานภายในทีมของคุณ คุณสามารถริเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มจากทีมที่คุณเกี่ยวข้อง บนพื้นฐานวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับองค์กร นอกจากนี้ การมองหาโอกาสภายนอกองค์กร เช่น งานอาสา สังคมที่คุณเข้าร่วม ก็เป็นการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้กับความคิดคุณก็ได้เช่นกัน


3. หากคุณได้โอกาสสร้างวิสัยทัศน์ อย่าตัดสินใจทั้งหมดด้วยตัวคนเดียว


การแบ่งปันไอเดีย วิธีการ หรือวิสัยทัศน์ที่คุณคิดขึ้นมากับผู้บริหารหรือทีมคนอื่นๆ ก่อนการนำเสนอต่อองค์กรจะเป็นการเพิ่มความเฉียบคมให้กับวิสัยทัศน์ และ เพิ่มทักษะความร่วมมือให้คุณด้วย


4. เรียนรู้จากวิสัยทัศน์ของคนอื่น


แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์นั้นๆ คุณก็สามารถเรียนรู้ได้มากมายจากการดูวิถีที่ผู้อื่นทำ พูดคุยกับผู้นำท่านอื่นๆ เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ที่พวกเขาพัฒนาขึ้นมา ทำความเข้าใจว่าทำไมวิสัยทัศน์นี้ถึงให้ผลลัพธ์ออกมาแบบนี้ หรือการค้นคว้าจากวิสัยทัศน์องค์กรในอดีต จากองค์กรของลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ เมื่อคุณเข้าใจและมีมุมมองที่หลากหลาย คุณจะเข้าใจมากขึ้นว่าวิสัยทัศน์แบบใดที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งคุณจะสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรเมื่อคุณมีโอกาสอีกครั้ง


เพราะ การพัฒนาวิสัยทัศน์เป็นส่วนที่สำคัญมากต่อกลยุทธ์สู่ความสำเร็จที่สูงขึ้นขององค์กร จึงถูกมองว่าเป็นความสามารถจำเป็นของผู้นำระดับสูงเสมอ ดังนั้น อย่าเข้าใจผิดว่าวิสัยทัศน์อยู่เหนืองานของคุณ ความสามารถในเรื่องของวิสัยทัศน์ก็เหมือนความสามารถในการเป็นผู้นำ ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและการได้ลองทำจริง การเริ่มต้นจากการสร้างวิสัยทัศน์เล็กๆ ในงานที่คุณทำอยู่ก็ถือเป็นการฝึกฝน เพื่อสร้างโอกาสในอนาคตได้เช่นกัน ทุกคนสามารถเรียนรู้ผ่านการกระทำได้เสมอ ขอเพียงมีความกล้าหาญ กล้าที่จะฝัน และ กล้าที่พูดมันออกมา




Credit: Harvard Business Review

M.I.S.S.CONSULT The Leadership Solution Specialist (LSS)




Comentários


bottom of page